พฤศจิกายน 21, 2024

Computer Repair 10 เทคนิค คู่มือการ ซ่อมคอมพิวเตอร์ ด้วยตัวเอง เบื้องต้น

ComputerRepair : Top 10 เทคนิคการ ซ่อมคอมพิวเตอร์ ด้วยตัวเอง เบื้องต้น
computer repairs and maintenances
บ่อยครั้งที่คอมพิวเตอร์มีปัญหา เช่น อาการจอมืด , ซีดีรอมไม่ทำงาน หรือฮาร์ดิสก์เสีย ถึงแม้ว่าตอน ซื้อมาจะมีการรับประกัน 2 ถีง 3 ปี แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้จะไม่ได้ซื้อ คอมพ์ทุก 2-3 ปีตามระยะการ ประกัน ดั้งนั้นการซ่อมจึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่นี้เรามาดูแนวทางการซ่อมคอมพ์พิวเตอร์ด้วยตนเอง

1. บันทึกทุกอย่างเก็บไว้ แม้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์ จะทำให้สามารถที่จะทิ้งเอกสารกองโต ออกไปจากโต๊ะทำงาน ได้ก็ตาม แต่ก่อนที่ทิ้งทุกอย่างไป ควรจะทำการหาวิธีในการเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ เผื่อในกรณีที่อาจเกิดปัญหา ในอนาคต ยอมเสียเวลาสักเล็กน้อยกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ซึ่งผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บางราย ก็ให้มีการลงทะเบียนกันแบบออนไลด์ แต่อย่าลืมพิมพ์สำเนาออกมาเก็บรวมไว้กับใบเสร็จรับเงิน เก็บใบเสร็จ รับเงินและใบรับประกันทุกอย่างไว้ให้ดี โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีการรับประกันแยกต่างหากออกไปไม่รวมกับ ตัวเครื่อง เช่น โมเด็ม , ซีพียู , เมนบอร์ด , จอ และอื่น ๆ

Top 10 เทคนิคการ ซ่อมคอมพิวเตอร์ ด้วยตัวเอง เบื้องต้น
Top 10 เทคนิคการ ซ่อมคอมพิวเตอร์ ด้วยตัวเอง เบื้องต้น

2.ทำการบ้านก่อนเลือกซื้อ ตอนที่ซื้อคอมพิวเตอร์ ควรจะต้องนึกถึงการซ่อมแซมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในการเลือกซื้อก็ต้องคิดอยู่เสมอว่า บางร้านรับซ่อมจะมีการคิดค่าตรวจสอบเครื่องด้วย ไม่ว่าเครื่องจะอยู่ใน ประกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนซื้อคงจะต้องทำการบ้านกันให้ดีในเรื่องของประกันที่บริษัทมีให้ ไม่ว่าจะในเรื่องประกัน การขยายระยะประกัน หรือว่าค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณประหยัดทั้งเงินและเวลาได้ในอนาคต

3.จดบันทึกอาการเสีย เมื่อคอมพ์พิวเตอร์มีอาการผิดปกติขึ้น ให้จดบันทึกอาการต่างไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Error Messages ต่างๆ ซึ่งจะมีประโยชน์และจะมีส่วนช่วยช่าง หรือผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์สาเหตุเสียได้มาก ให้จดบันทึกอาการที่เกิดขึ้นให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่ช่างจะได้ซ่อมได้เร็วและตรงจุด โดยทั่วไปแล้ว คำถามที่ช่างหรือคนที่จะช่วยเหลือคุณมักจะถามเช่น จอภาพแสดงอาการอย่างไร หรือ Error massage ที่เกิดขึ้นคืออะไร เป็นต้น ถ้าคุณสามารถที่จะตอบคำถามเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อช่าง และคุณเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณปรึกษากับช่างผ่านทางโทรศัพท์ แลัก่อนที่จะตัดสินใจเลือกร้านซ่อมก็ให้ตรวจระยะเวลา ประกันของคอมพิวเตอร์และบรรดาอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ให้ดี

4.สำรวจให้ทั่ว ๆ การนำเครื่อคอมพิวเตอร์ไปซ่อมกับบริษัทที่คุณซื้อมาก็ไม่ใช้ว่าจะเป็นวิธีที่ดีเสมอไป เพราะบางครั้งถ้าศึกษาให้ดี ๆ อาจพบว่า ซ่อมกับบริษัทอาจทำให้คุณต้องเสียทั้งเงินและเวลา มากกว่าที่ตวรเป็นก็ได้ วิธีที่น่าจะดีกว่า ก็คือลองสำรวจร้านอื่น ๆ ดูไม่ว่าจะเป็นร้านเล็กหรือใหญ่ ตรวจสอบข้อมูลเรื่องเวลาและราคาในการซ่อมเช่น ค่าตรวจเครื่อง ค่าแรง หรือค่าซ่อมนอกสถานที่ (ในกรณีที่ต้องการให้ช่างมาซ่อมที่บ้าน) เป็นต้น ร้านเล็ก ๆ บางครั้งให้ความสำคัญเป็นกันเองกับลูกค้ามากกว่า ร้านใหญ่ ๆ เนื่องจากมีความต้องการอยู่รอดในการแข่งขันกับร้านใหญ่ ๆ ในขณะเดินสำรวจร้านต่าง ๆ อยู่ให้ลองสังเกคร้านที่ติดโลโก้ยี่ห้อดังเช่น ไอบีเอ็ม , คอมแพค , เป็นต้น ซึ่งมันอาจเป็นไปได้ว่า ร้านนั้น ๆ รับซ่อมเครื่องที่อยู่ในประกันของยี่ห้อนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามร้านที่รับซ่อมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะรับซ่อม เครื่องทุกยี่ห้ออยู่แล้ว

5.ค้นหาบริการทางโทรศัพท์ บางกรณีอาจเป็นการไม่สะดวกที่จะเดินทางไปซ่อมที่ร้านโดยตรง การไปโทรศัพท์ไปปรึกษาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เมื่อคุณเริ่มโทรศัพท์หาร้านซ่อม ให้ลองสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ที่คุณได้รับทางโทรศัพท์ เช่นต้องรอสายนานเท่าไร เต็มใจช่วยเหลือหรือไม่ แค่นี้ก็เป็นการช่วยตัดสินใจได้ว่า ควรซ่อมกับร้านนั้นหรือไม่ แล้วอย่าลืมจดชื่อรุ่นหรือ Serial Number ของคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อความสะดวก
หรือจะโทรไปรายการ 94 FM ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14:00-15:00 ที่นี้รับตอบปัญหาทุกเรื่องดีมากเลย

6.ค่าธรรมเนียม เมื่อยกเครื่องคอมพิวเตอร์ไปซ่อมเป็นธรรมดาที่ช่างจะสำรวจดูว่ามีอะไรบ้างที่ต้องซ่อม ตั้งแต่สายไฟยันฮาร์ดดิส ซึ่งร้านจำเป็นจะต้องคิดค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบนี้ แต่ก็มีบางร้านเหมือนกัน ที่ไม่คิด แต่ถ้าคุณพอมีความรู้เรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ก็อาจทดลองใช้โปรแกรม Norton Utility ตรวจสอบเครื่องของคุณก่อน บางที่อาจทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินก็ได้ หรือบางที่คุณอาจโทรมาเรียกช่างมาซ่อม ที่บ้านก็ได้ แต่คุณจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น

7.คิดในแง่ร้ายไว้ก่อน หลังจากที่เครื่องของคุณได้รับการตรวจสอบอาการจากหลาย ๆ ร้านซ่อมแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนในการตัดสินใจว่า จะซ่อมหรือไม่ซ่อมในร้านใดจึงจะดี ซึ่งบางครั้งร้านซ่อมอาจจะบอกว่าเครื่อง ไม่อยู่ในประกันแล้วหรืออะไหล่ชิ้นที่ต้องการไม่มีอีกต่อไปแล้ว ข่าวร้ายเหล่านี้เป็นแคเพียงขั้นเริ่มต้นใน การซ่อมคอมพิวเตอร์ของคุณ บางที่คุณอาจลองสอบถามร้านดูว่าสามารถจะเอาอะไหล่เก่าไปแลกอะไหล่ใหม่ ได้หรือไม่ ในกรณีอะไหล่ชิ้นเก่าเลิกผลิตไปแล้ว โดยอาจต้องเพิ่มเงินเล็กน้อย

8.เตรียมเครื่องให้พร้อมก่อนนำไปซ่อม ก่อนที่จะทิ้งเครื่องเอาไว้ที่ร้านเพื่อทำการซ่อมลองตรวจสอบว่าคุณได้ แบ็กอัพข้อมูลที่สำคัญเอาไว้ , จด Serial number ของฮาร์ดิสก์ , ซีดีรอม , โมเด็ม และอื่น ๆ ไว้เพื่อตรวจสอบกับอุปกรณ์ที่นำมาเปลี่ยน ลบข้อมูลส่วนตัวออกให้หมดเช่น อินเตอร์เน็ทพาสเวิร์ด เพื่อป้องกันถูกลักลอบนำไปใช้

9..ขอเอกสารการซ่อมจากร้าน ก่อนที่จะทิ้งเครื่องเอาไว้ที่ร้านอย่าลืมขอเอกสารที่บอกถึงชิ้นส่วนที่จะเปลี่ยน และระยะเวลาในการซ่อม ตรวจสอบเอกสารให้ละเอียดเพื่อป้องกันค่าใช้จ่านแอแฝง แล้วอย่าลืมถามถึงการ รับประกันหลังการซ่อม

10.ติดตามความคืบหน้า สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำคือคอยโทรไปถามว่าการซ่อมไปถึงไหน เปลี่ยนอะไรบ้าง เสร็จทันกำหนดหรือไม่ และเมื่อไปรับเครื่อง ให้ทดสอบดูก่อนว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่ ก่อนนำเครื่องกลับ

ข้อมูลจาก เซียนคอม